วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Experiment

 💧วีดิโอการทดลอง💧

💚เรื่อง แรงตึงผิว💚




สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

 🌷สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก🌷

🌼เรื่อง ห่านกับไข่ทองคำ 🌼




🌺กิจกรรมเอาไว้เล่นกับลูก🌺


🌼อุปกรณ์🌼
• แก้วน้ำ2ใบ
• น้ำเปล่า
• เกลือ
• ช้อน
• ไข่ 2 ฟอง 

🌸ขั้นตอนการทำ🌸

• ใส่น้ำลงไปในแก้วน้ำทั้ง 2 ใบจำนวนเท่า ๆ กัน
• ใส่เกลือลงไปประมาณ 5 ช้อน ลงไปในแก้วน้ำใบแรก
• รอเกลือละลายน้า
• ใส่ไข่ลงไปพร้อมกันในแก้วน้ำทั้ง 2ใบ
• จะสังเกตได้ว่าในน้ำเกลือไข่จะลอย ในน้ำเปล่าไข่จะจม

🌻ผลจากการทำการทดลอง🌻

เห็นได้ว่าหลังจากที่เราหย่อนไข่ลงไปในโหลที่บรรจุน้ำจะพบว่าไข่บางฟองจะจมไข่บางฟองจะลอยหรืออาจจะจมทั้งหมดซึ่งการจมการลอยของไข่นั้นสามารถบอกได้ว่าไข่ใบไหนเป็นไข่สด หรือไข่ใบไหนเป็นไข่ที่เสียแล้วโดยไข่สดจะจมลง ส่วนไข่เสียจะลอยเนื่องจากเมื่อไข่ไก่เริ่มเน่าเสียจะ เกิดก๊าซข้ึนภายในไข่ ก๊าซที่เกิดข้ึนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทำให้ไข่ลอย ส่วนไข่สดมีความหนาแน่นที่มากกว่าน้ำไข่จึงจมโดยปกติแล้ววัตถุต่าง ๆ ที่ลอยในน้ำได้ จะต้องมีความหนาแน่นท่ีน้อยกว่าน้ำเสมอ แต่สามารถทำให้ไข่สดลอยน้ำได้โดยการเติมเกลือลงไป










สรุปวิจัย

💙 สรุปวิจัย💙

💚เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน💚

💗ปริญญานิพธ์ของ ศดิพรรณ สำแดงเดช เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2553💗




การเล่านิทาน หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่นํามาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกความสนใจประสบการณ์ทัศนคติและค่านิยมที่เหมาะสมสําหรับเด็กมาใช้ในการเล่านิทาน นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงวัสดุอปุกรณ์และวิธีการที่ครูควรส่งเสริมให้เด็กเล็กๆ ใช้เพื่อนเล่านิทานให้เพื่อนชมและฟังบา้ง เนื่องด้วยเด็กมีจินตนาการและมโนภาพสูงมากอยู่แล้วเด็กสามารถช่วยกันเล่านิทานโดยแต่งเรื่องนิทานใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นเอง ซึ่งการเล่านิทานโดยให้เด็กเป็นผู้เล่านั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ คือ 1. การเล่านิทานโดยเด็กเป็นผู้เล่าโดยตนเอง 2. การเล่านิทานจากหนังสือภาพ 3. การเล่านิทานต่อจากเรื่องที่ไม่จบสมบรูณ์ 4. การเล่าขยายเรื่องราวจากนิทานที่ได้ฟ้ง

🍀ความมุ่งหมาย🍀
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง 2.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

🍁เครื่องมือ🍁
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

🌼วิธีการดำเนิน🌼
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทําการทดลองเป็นเวลา8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทําการทดลองในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. รวม 24 ครั้ง มีลําดับขั้นตอนดังนี้ 1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวทิ ยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง 2.ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัย ดําเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเดก็ ที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน 3.เมื่อดําเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง 4.นําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถติ

🌻สรุปผลวิจัย🌻
1.เด็กปฐมวยัที่ได้รับการจดักิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01

2. ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่



สรุปบทความ

 🍄สรุปบทความ🍄

🌸เรื่องแนวทางสอนคิดเติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล🌸

ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

🍁อ้างอิง🍁

เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ



สรุปตัวอย่างการสอน

💧สรุปตัวอย่างการสอน💧

💜เรื่องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสำหรับเด็กเล็ก💜




เราไปเยี่ยมจูลี่ โทมัส คนดูแลเด็กที่มีชื่อเสียงในเมืองเบอร์มิงแฮม ซึ่งดูแลเด็กวัย 3 ขวบอยู่สองคน เธอสังเกตว่าเด็กๆ ตื่นเต้นเรื่องรถโดยสาร จูลี่จึงสร้างแผนการเรียนรู้ให้เป็นการเดินทางโดยรถโดยสาร รายการตอนนี้จะติดตามการเดินทางของทอมและไรลีย์ขณะที่ทั้งคู่พูดคุยกันอย่างตื่นเต้นเกี่ยวกับผู้โดยสาร การได้เห็นรถโดยสารคันอื่น ๆ ทั้งสองคนสังเกตและถ่ายภาพจุดสำคัญ ๆ ระหว่างการเดินทาง ที่สถานีรถโดยสารประจำทาง พวกเขาสังเกตตารางเวลาที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข เมื่อกลับไปที่บ้านคนคนดูแลเด็ก พวกเขารวบรวมสิ่งที่ได้เรียนรู้มา พวกเขาใช้รูปถ่ายเพื่อเตือนความจำและจัดลำดับการเดินทาง เล่นบทบาทสมมุติเกี่ยวกับรถโดยสาร โดยเฉพาะลังกระดาษขนาดใหญ่ วาดภาพ และทำโมเดลโดยใช้หัวเรื่องเกี่ยวกับรถโดยสาร รายการนี้ไปดูวิธีการวางแผนของจูลี่ โดยเริ่มจากสิ่งที่เด็กริเริ่มขึ้นมา แล้วใช้ความเชี่ยวชาญของเธอช่วยนำการเรียนรู้ และติดตามประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมประจำวันด้วยการเล่นผ่านการวางแผนของเธอ

💟 อ้างอิง💟
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT (Distance Learning Information Technology)

บักทึกอนุทินครั้งที่ 10

 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


🍉กิจกรรมการเรียนวันนี้🍉
กิจกรรมที่ 1
 อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์หัวข้อมีดังนี้
1.การเปลี่ยนเจตคติ
2.บทบาทของครูอนุบาลในฐานะครูวิทยาศาสตร์
3.การสอนวิทยาศาสตร์
4.ตัวอย่างการสอนกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์
5.ควรสอนวิทยาศาสตร์
6.ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
7.ครูมีวิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร









กิจกรรมที่ 2 
 อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาจับกลุ่มกันทำงานเลือกหัวข้อและทำเรื่องโครงการวิทยาศาสตร์และการทดลอง
🍓กลุ่มฉันทำเรื่อง ผลไม้🍓



💛Vocabulary 💛
1.Fruit = ผลไม้
2.Kindergarten teacher = ครูอนุบาล
3.Volcano = ภูเขาไฟ
4.Position = ฐานะ
5.The experiment = การทดลอง

🌻Evaluation🌻
- ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงาน ได้คิดออกแบบ
- ประเมินเพื่อน เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์พูคอธิบายข้อมูลได้ชัดเจน 
 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


🍑กิจกรรมการเรียนวันนี้🍑
กิจกรรมที่ 1
 อาจารย์ให้นักศึกษาทำของเล่นจากระดาษแข็งกติการคือให้ลอยอยู่บนฟ้าได้นาน อาจารย์มีอุปกรณ์มาให้คือ กระดาษแข็งคนละ 2 ชิ้น ตกแต่งให้สวยงาม




กิจกรรมที่ 2 
 อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลองทำกระดาษที่อ่อนกว่าดูว่าจะลอยอยู่ได้นานกว่ากระดาษแข็งไหม


กิจกรรมที่ 3
 อาจารย์ให้ดินน้ำมันนักศึกษานำมาปั้นให้นักศึกษาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันมันลอยเหนือน้ำได้



🍈อุปกรณ์🍈

1.ถาดใส่น้ำ

2.ดินน้ำมัน

3.น้ำ


💥วิธีการทำ💥 

เเผ่นดินน้ำมันออกให้เป็นเเผ่นบางๆ เเบนๆ มีขอบสูงเล็กน้อยเเล้วหย่อนลงถาดใส่น้ำ 


💛Vocabulary 💛
1.Cardboard = กระดาษแข็ง
2.Float = การลอย
3.The rules = กติการ
4.Plasticine = ดินน้ำมัน
5.Tray = ถาด

🌻Evaluation🌻
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงาน ได้วางแผนออกแบบ
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆ ตั้งใจทำชิ้นงานของตนเอง
ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์พูคอธิบาย สรุปกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำได้อย่างเข้าใจง่ายๆ









บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม
พ.ศ. 2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

🍁กิจกรรมการเรียนวันนี้🍁

🐋กิจกรรมที่ 1🐋

 อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวีดิโอเรื่องน้ำและคุณสมบัติของน้ำ หลังจากนั้นให้นักศึกษาได้กลุ่มกันออกแบบ เรื่องน้ำตามความเข้าใจของนักศึกษา



🐟กิจกรรมที่ 2🐟
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเดิมและช่วยกันคิดออกแบบเครื่องที่เกี่ยวกับน้ำ 
💧กลุ่มของฉันทำเรื่อง น้ำพุ💧


💛Vocabulary 💛

1.Solid = ของแข็ง
2.Iiquid = ของเหลว
3.Status change = การเปลี่ยนสถานะ
4.Evaporation = การละเหย
5.Water pressure = แรงดันของน้ำ

🌻Evaluation🌻
ประเมินตนเอง ตั้งใจดูคลิปวีดิโอและจดสรุปวีดิโอตามความเข้าใจ
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆ ตั้งใจดูคลิปวีดิโอ รวมกันวางแผนทำงานของแต่ละกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์พูคอธิบายข้อมูลได้ชัดเจน 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เรียนชดเชย


กิจกรรมการเรียนวันนี้
กิจกรรมที่ 1
 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 5 คน แล้วให้นักศึกษาหารูปแม่น้ำหลังจากนั้นให้วาดรูปลงโดยมีกติการว่าห้ามบอกเพื่อนกลุ่มอื่นว่าแม่น้ำที่เราวาดคือที่ไหน
💦กลุ่มของฉันวาดรูปเกาะพีพี💦


กิจกรรมที่ 2
 อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างสรรค์สวนน้ำ ในกลุ่มเดิม ทำอย่างไรให้ดินน้ำมันไหลลงพื้นให้ช้าที่สุด และตั้งชื่อสวนน้ำของกลุ่มตนเอง
💧สวนน้ำของกลุ่มฉันชื่อ สไดเดอร์💧
กิจกรรมที่ 3
 อาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่นให้ตัดเป็นรูปดอกไม้ ตัดเสร็จแล้วนำมาตกแต่งให้สวยงามตามใจ อาจารย์จะให้แต่ละกลุ่มนำดอกไม้มาวางบนน้ำแล้วให้สังเกตดูว่าดอกไม้ดอกไหนจะบานออกหรือดอกไหนจะไม่บาน


ทักษะที่ได้รับ 

  ทักษะการสังเกต ได้สังเกตว่ามีจุดเด่นอะไร ทำไมถึงเป็นจุดเด่น

  ทักษะการคิดวางแผน ได้คิดและลองวาดในกระดาษก่อนว่ามันจำทำได้จริงหรือไหม

วิทยาศาสตร์

  ▸มีความสูงต่ำ และการเสียดทานของหลอดกับดินน้ำมัน มีการจับเวลา เกี่ยวกับสเปสกับเวลา

คณิตศาสตร์

   เรื่องจำนวน ว่าใช้หลอดที่อาจารย์เตรียมให้กี่อัน 

เทคโนโลยี

   อุปกรณ์ที่มีการพัฒนาจากเดิม เช่น สก๊อตเทป 

วิศวกรรม

   การออกแบบที่มีเป้าหมาย มีการเขียนแบบก่อนที่จะลงมือสร้าง

 
💛Vocabulary 💛
1.Planning = การคิดวางแผน
2.River = แม่น้ำ
3.Point = จุดเด่น
4.Goal = เป้าหมาย
5.Skill = ทักษะ

🌻Evaluation🌻
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่มอบหมาย
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการทำงาน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์พูคอธิบายข้อมูลได้ชัดเจน




 

Experiment

  💧วีดิโอการทดลอง💧 💚 เรื่อง แรงตึงผิว💚